ส่วนบริการศุลกากรบางเสาธง สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ
Bang Sao Thong Customs Service Division
 

ความรู้เกี่ยวกับการนำเข้า

ลิงค์ที่น่าสนใจ

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 14 เข้าชมวันนี้
  • 451 เข้าชมเดือนนี้
  • 10,951 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
ส่วนบริการศุลกากรบางเสาธง เลขที่ 102 หมู่ที่ 2 ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 10540
หมายเลขโทรศัพท์ 02-3381425-36 ต่อ 131 โทรสาร : 02-3391447

บอกเล่าเก้าสิบ: เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับการยื่นขอลดอัตราอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ข้อ ๒ (๑๓) สำหรับของที่นำออกจากเขตปลอดอากร เพื่อจำหน่า

บอกเล่าเก้าสิบ: เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับการยื่นขอลดอัตราอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ข้อ ๒ (๑๓) สำหรับของที่นำออกจากเขตปลอดอากร เพื่อจำหน่ายหรือบริโภคภายในประเทศ เพื่อขออนุมัติหลักการการได้สิทธิลดอัตราอากรลงเหลืออัตราร้อยละ 0

ผู้ประกอบกิจการในเขตปลอดอากร สามารถยื่นคำร้องขอลดอัตราอากร สำหรับของที่นำออกจากเขตปลอดอากร เพื่อจำหน่ายหรือบริโภคภายในประเทศ เพื่อขออนุมัติหลักการการได้สิทธิลดอัตราอากรลงเหลืออัตราร้อยละ 0 ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ข้อ ๒ (๑๓) ได้ โดยต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศกรมศุลกากร ที่ 246/2564เรื่อง หลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการลดอัตราอากร และยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 ข้อ ๑6 ได้ ซึ่งเป็นสิทธิที่จะทำให้ได้รับการลดอัตราอากรศุลกากรสำหรับจำหน่ายหรือบริโภคภายในประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของภาครัฐ เพื่อส่งเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนลงทุนในเขตปลอดอากร เนื่องจากการสะสมมูลค่าวัตถุดิบให้ถึงอัตราที่ได้เกณฑ์ลดอัตราอากรฯ ทำให้เกิดการใช้วัตถุดิบในประเทศ รวมถึงเกิดการจ้างงาน และประโยชน์อื่นใด อันจะเป็นการสร้างศักยภาพในการแช่งขันแก่เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้

ข้อแนะนำสำหรับผู้ประกอบการในการจัดเตรียมสำหรับการยื่นขอลดอัตราอากรดังกล่าว               ซึ่งมีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ข้อ ๒ (๑๓) และประกาศกรมศุลกากร ที่ 246/2564เรื่อง หลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการลดอัตราอากร และยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 ข้อ ๑6 เมื่อผู้ประกอบการได้จัดเตรียมข้อมูลตามข้อกำหนดข้างต้นแล้ว อาจใช้แนวทางการตรวจสอบความถูกต้องเบื้องต้น กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้

1. ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคำร้อง เอกสารประกอบ และคุณสมบัติของผู้มีอำนาจลงนาม

2. ตรวจสอบหนังสือรับรองวัตถุดิบจากสถาบันอิสระหรือหน่วยงานรับรองอิสระอื่นที่กรมศุลกากรเห็นชอบว่าวัตถุดิบนั้นได้มาจากกระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญของการจัดทำวัตถุดิบและไม่เป็นกระบวนการผลิตอย่างง่าย หรือสำเนาหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดในประเทศไทย หรือสำเนาหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตของที่ขอใช้สิทธิลดอัตราอากร เช่น กรณียานยนต์และชิ้นส่วน จะต้องมีหนังสือรับรองวัตถุดิบจากสถาบันยานยนต์ เพื่อรับรองว่าวัตถุดิบนั้นได้มาจากกระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญของการจัดทำวัตถุดิบและไม่เป็นกระบวนการผลิตอย่างง่าย เป็นต้น

3. ตรวจสอบว่า หนังสือรับรองตนเองว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญในเขตปลอดอากรตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ที่กำหนดในประกาศสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เรื่อง กระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญของของในเขตปลอดอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรหรือในเขตประกอบการเสรีตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่

4. ตรวจสอบเอกสารประกอบที่แสดงและพิสูจน์ถึงข้อมูลการผลิต การใช้วัตถุดิบ มูลค่าวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต และกำไร และตรวจสอบว่าอัตราส่วนของต้นทุนการผลิตในประเทศต่อราคาของของหน้าโรงงาน  ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔๐ ของราคาของของหน้าโรงงาน ตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้

                      1) ของนั้นต้องมีผลรวมของมูลค่าวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดในประเทศไทย ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนการผลิตอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งของนั้น และกำไร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของราคาของของหน้าโรงงาน (Ex-Factory) หรือ

                      2) ของนั้นต้องมีผลรวมของมูลค่าวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนการผลิตอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งของนั้น และกำไร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของราคาของของหน้าโรงงาน (Ex-Factory) หรือ

                      3) ของนั้นต้องมีผลรวมของมูลค่าวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดในประเทศไทยรวมกับมูลค่าวัตถุดิบที่ได้ถิ่นกำเนิดจากประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนการผลิตอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยเพื่อให้ได้มาซึ่งของนั้น และกำไรไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของราคาของหน้าโรงงาน Ex-Factory)

                      4) ของนั้นต้องผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญในเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรี ซึ่งเป็นไปตามประกาศกำหนดของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหรือหน่วยงานรัฐอื่นที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลกระบวนการผลิตสำหรับของนั้น

                      5) ของนั้นจะต้องไม่เป็นของที่อธิบดีกรมศุลกากรประกาศกำหนดมิให้นำเข้าไปในหรือปล่อยออกจากเขตปลอดอากรหรือเขตประกอบการเสรี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนดประเภทหรือชนิดของของที่จะนำเข้าไปในหรือปล่อยออกจากเขตปลอดอากรตามระเบียบปฏิบัติพิธีการศุลกากรว่าด้วยเขตปลอดอากร ตามมาตรา 150 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 หรือตามระเบียบปฏิบัติพิธีการศุลกากรว่าด้วยเขตประกอบการเสรี ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียด ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ข้อ ๒ (๑๓) และประกาศกรมศุลกากร ที่ 246/2564เรื่อง หลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการลดอัตราอากร และยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 ข้อ 16 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนบริการศุลกากรบางเสาธง สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ เลขที่ 102 หมู่ที่ 2 ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 10540 หมายเลขโทรศัพท์ 02-3381425-36 ต่อ 131 โทรสาร : 02-3391447

                                                                        นายวิรัตน์ ชวัญสุด

                                                        ผู้อำนวยการส่วนบริการศุลกากรบางเสาธง

         28 มีนาคม 2567

 

 

วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 21 เมษายน 2567 17:21:37
จำนวนผู้เข้าชม : 2,230
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนบริการศุลกากรบางเสาธง
ส่วนบริการศุลกากรบางเสาธง
เลขที่ 102 หมู่ที่ 2 ตำบลบางเสาธง
อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 10540
หมายเลขโทรศัพท์ : 02-3381425-36 ต่อ 131

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ ของส่วนบริการศุลกากรบางเสาธง - สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ
ลิขสิทธิ์ ? 2015 ส่วนบริการศุลกากรบางเสาธง สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนประมวลผลและคลังข้อมูล สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลการ